วันอังคารที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2558

โปรมแกรมการจัดการสารสนเทศส่วนบุคคล
การจัดการ หมายถึง การพัฒนากลยุทธ์ที่ชัดเจนในการดำเนินการกับสารสนเทศที่ได้รับ
สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลข่าวสารทุกประเภทที่ได้รับ
ส่วนบุคคล หมายถึง การที่บุคคลมีความต้องการหรือมีความจำเป็นในการสารสนเทศหนึ่งๆในการประกอบกิจการงานหรือการดำรงชีวิตประจำวันยุคของการใช้กระดาษหลักส่วนใหญ่อาศัยกระดาษเป็นหลักและมีตู้เก็บเอกสารเป็นส่วนประกอบ ระบบที่ใช้กระดาษนี้เป็นระบบที่ง่ายต่อการเรียนรู้และการใช้งาน ส่วนจุดด้อยที่สำคัญคือ การค้นกาข้อมูลค่อนข้างยากยุคของการใช้คอมพิวเตอร์เป็นหลักไมโครคอมพิวเตอร์เริ่มเข้ามามีบทบาทในวงการต่างๆมากขึ้นตั้งแต่ในช่วงต้นทศวรรษ 1980 แต่ละบุคคลเริ่มได้รับสารสนเทศมากขึ้นจากแหล่งต่างๆและยังใช้ในการติดต่อสื่อสารกับผู้คนมากขึ้นองค์ประกอบของระบบจัดการสารสนเทศส่วนบุคคลจะมีความแตกต่างกันค่อนข้างมากทั้งด้านรูปลักษณ์ ระบบความสามารถในการทำงาน และราคา ตามโครงสร้างของระบบที่ใช้หลักการจัดการฐานข้อมูลแล้ว พบว่าองค์ประกอบที่เหมือนกันคือ ส่วนรับเข้า ส่วนประมวลผล และส่วนแสดงผลประเภทของระบบจัดการสารสนเทศส่วนบุคคล จะประกอบไปด้วย การจำแนกตามรูปลักษณ์ และจำแนกตามฟังก์ชันการทำงานเกณฑ์การการเลือกระบบจัดการสารสนเทศส่วนบุคคล ประกอบด้วย เป้าหมาย ความต้องการด้านสารสนเทศ สภาพแวดล้อมในการทำงาน ความสามารถในการทำงาน ราคา ความยากง่ายในการใช้งาน การสนับสนุนด้านเทคนิค การรับฟังความคิดเห็น และการทดลองใช้ระบบระบบนัดหมายส่วนบุคคล เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่พบในระบบจัดการสารสนเทศส่วนบุคคลโดยทั่วไปมีลักษณะคล้ายกับสมุดนัดหมายบุคคลที่เป็นกระดาษเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการบริหารเวลาของแต่ละบุคคลช่วยให้มีการใช้เวลาได้อย่างคุ้มค่าระบบนัดหมายกลุ่มระบบคอมพิวเตอร์ที่ช่วยในการนัดประชุม ที่เรียกว่า “ระบบนัดหมายประชุม” เป็นการนำปฎิทินในการทำงานในระบบคอมพิวเตอร์ของสมาชิกของแต่ละคนมารวมกันและแสดงผลข้อมูลบนหน้าจอคอมพิวเตอร์พร้อมกัน ระบบจะแสดงช่วงเวลาสมาชิกทุกคนมีเวลาว่างพร้อมกัน เพื่อให้เลขานุการหรือผู้ใช้ระบบเลือกเอาเวลาที่เหมาะสมสำหรับการประชุม

  e-Learning
คำว่า e-Learning คือ การเรียน การสอนในลักษณะ หรือรูปแบบใดก็ได้ ซึ่งการถ่ายทอดเนื้อหานั้น กระทำผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น ซีดีรอม เครือข่ายอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต เอ็กซทราเน็ต หรือ ทางสัญญาณโทรทัศน์ หรือ สัญญาณดาวเทียม (Satellite) ฯลฯ เป็นต้น ซึ่งการเรียนลักษณะนี้ได้มีการนำเข้าสู่ตลาดเมืองไทยในระยะหนึ่งแล้ว เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอนด้วยซีดีรอม, การเรียนการสอนบนเว็บ (Web-Based Learning), การเรียนออนไลน์ (On-line Learning) การเรียนทางไกลผ่านดาวเทียม หรือ การเรียนด้วยวีดีโอผ่านออนไลน์ เป็นต้น 

          ในปัจจุบัน คนส่วนใหญ่มักจะใช้คำว่า e-Learning กับการเรียน การสอน หรือการอบรม ที่ใช้เทคโนโลยีของเว็บ (Web Based Technology) ในการถ่ายทอดเนื้อหา รวมถึงเทคโนโลยีระบบการจัดการหลักสูตร (Course Management System) ในการบริหารจัดการงานสอนด้านต่างๆ โดยผู้เรียนที่เรียนด้วยระบบ e-Learning นี้สามารถศึกษาเนื้อหาในลักษณะออนไลน์ หรือ จากแผ่นซีดี-รอม ก็ได้ และที่สำคัญอีกส่วนคือ เนื้อหาต่างๆ ของ e-Learning สามารถนำเสนอโดยอาศัยเทคโนโลยีมัลติมีเดีย (Multimedia Technology) และเทคโนโลยีเชิงโต้ตอบ (Interactive Technology)

          คำว่า e-Learning นั้นมีคำที่ใช้ได้ใกล้เคียงกันอยู่หลายคำเช่น Distance Learning (การเรียนทางไกล) Computer based training (การฝึกอบรมโดยอาศัยคอมพิวเตอร์ หรือเรียกย่อๆว่า CBT) online learning (การเรียนทางอินเตอร์เนต) เป็นต้น ดังนั้น สรุปได้ว่า ความหมายของ e-Learning คือ รูปแบบของการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยอาศัยเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือสื่ออิเลคทรอนิกส์ในการถ่ายทอดเรื่องราว และเนื้อหา โดยสามารถมีสื่อในการนำเสนอบทเรียนได้ตั้งแต่ 1 สื่อขึ้นไป และการเรียนการสอนนั้นสามารถที่จะอยู่ในรูปของการสอนทางเดียว หรือการสอนแบบปฎิสัมพันธ์ได้

ไวรัสคอมพิวเตอร์ และการป้องกันไวรัส

1. ไวรัสคอมพิวเตอร์ หรือโปรแกรมที่มีเจตนาไม่ดีต่อคอมพิวเตอร์  คืออะไร
ไวรัสคอมพิวเตอร์ (computer virus) ซึ่งเรียกชื่อเลียนแบบ ไวรัส ที่เป็นสิ่งมีชีวิต แต่เป็นคำเรียกแบบย่อของ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่มีชุดคำสั่งระบบปฏิบัติการใดๆก็ตามเท่าที่โปรแกรมถูกเขียนขึ้นมาเพื่อการใดการหนึ่งทั้งที่มีประโยนช์ทางการทำงานตามผู้เขียนโปรแกรมนั้นขึ้นมาไวรัสคอมพิวเตอร์ ที่บุกรุกเข้าไปในเครื่องคอมพิวเตอร์โดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้ใช้ ส่วนมากมักจะมีประสงค์ร้ายและสร้างความเสียหายให้กับระบบของเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นๆ
ในเชิงเทคโนโลยีความมั่นคงของระบบคอมพิวเตอร์นั้น ไวรัสเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่สามารถทำสำเนาของตัวเอง เพื่อแพร่ออกไปโดยการสอดแทรกตัวสำเนาไปในรหัสคอมพิวเตอร์ส่วนของข้อมูลเอกสารหรือส่วนที่สามารถปฏิบัติการได้ ดังนั้นไวรัสคอมพิวเตอร์จึงมีพฤติกรรมในลักษณะเดียวกับไวรัสในทางชีววิทยา ซึ่งสามารถแพร่กระจายไปในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตในลักษณะเดียวกันนี้ คำอื่นๆ ที่ใช้กับไวรัสในทางชีววิทยายังขยายขอบข่ายของความหมายครอบคลุมถึงไวรัสในทางคอมพิวเตอร์ เช่น การติดไวรัส (infection) แฟ้มข้อมูลที่ติดไวรัสนี้จะเรียกว่า โฮสต์ (host) ไวรัสนั้นเป็นประเภทหนึ่งของโปรแกรมประเภทมัลแวร์ (malware) หรือโปรแกรมที่มีประสงค์ร้าย ในความหมายที่ใช้กันทั่วไปนั้น ไวรัสยังใช้หมายรวมถึง เวิร์ม (worm) ซึ่งก็เป็นโปรแกรมอีกรูปแบบหนึ่งของมัลแวร์ ซึ่งบางครั้งก็ทำให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์นั้นสับสนเมื่อคำไวรัสนั้นใช้ในความหมายที่เฉพาะเจาะจง คอมพิวเตอร์ไวรัสนั้นโดยทั่วไปจะไม่ส่งผลก่อให้เกิดความเสียหายต่อฮาร์ดแวร์โดยตรง แต่จะทำความเสียหายต่อซอฟต์แวร์
ในขณะที่ไวรัสโดยทั่วไปนั้นก่อให้เกิดความเสียหาย (เช่น ทำลายข้อมูล) แต่ก็มีหลายชนิดที่ไม่ก่อให้เกิดความเสียหาย เพียงแต่ก่อให้เกิดความรำคาญเท่านั้น ไวรัสบางชนิดนั้นจะมีการตั้งเวลาให้ทำงานเฉพาะตามเงื่อนไข เช่น เมื่อถึงวันที่ที่กำหนด หรือเมื่อทำการขยายตัวได้ถึงระดับหนึ่ง ซึ่งไวรัสเหล่านี้จะเรียกว่า บอมบ์ (bomb) หรือระเบิด ระเบิดเวลาจะทำงานเมื่อถึงวันที่ที่กำหนด ส่วนระเบิดเงื่อนไขนั้นจะทำงานเมื่อผู้ใช้คอมพิวเตอร์มีการกระทำเฉพาะซึ่งเป็นตัวจุดชนวน ไม่ว่าจะเป็นไวรัสชนิดที่ก่อให้เกิดความเสียหายหรือไม่ก็ตาม ก็จะมีผลเสียที่เกิดจากการแพร่ขยายตัวของไวรัสอย่างไร้การควบคุม ซึ่งจะเป็นการบริโภคทรัพยากรคอมพิวเตอร์อย่างไร้ประโยชน์ หรืออาจจะบริโภคไปเป็นจำนวนมาก
ไวรัสคอมพิวเตอร์ (Computer Virus) คือ โปรแกรมชนิดหนึ่งที่มีความสามารถในการสำเนาตัวเองเข้าไปติดอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ และถ้ามีโอกาสก็สามารถแทรกเข้าไปติดอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์อื่นๆ ซึ่งอาจเกิดจากการนำเอาแผ่นดิสก์หรือแฟลชไดร์ฟที่ติดไวรัสจากเครื่องหนึ่งไปใช้กับอีกเครื่องหนึ่ง การที่คอมพิวเตอร์ใดติดไวรัส หมายความว่าไวรัสได้เข้าไปผังตัวอยู่ในหน่วยความจำคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นเรียบร้อยแล้ว การที่ไวรัสจะเข้าไปอยู่ในหน่วยความจำได้นั้นจะต้องมีการถูกเรียกใช้ให้ทำงาน ซึ่งโดยปกติแล้วผู้ใช้มักจะไม่รู้ตัวเลยว่า ขณะที่ตนเรียกใช้โปรแกรมหรือเปิดไฟล์ใดๆขึ้นมาทำงาน ก็ได้เรียกไวรัสขึ้นมาทำงานด้วย จุดประสงค์การทำงานของไวรัสแต่ละตัวขึ้นอยู่กับผู้เขียนโปรแกรมไวรัสนั้น เช่น อาจสร้างไวรัสให้ไปทำลายโปรแกรมหรือข้อมูลอื่นๆ ที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือแสดงข้อความวิ่งไปมาบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
ไวรัส (Virus) เป็นมัลแวร์ (Malware) ชนิดแรกที่เกิดขึ้นบนโลกนี้และอยู่มานาน ดังนั้นโดยทั่วไปตามข่าวหรือบทความต่างๆที่ไม่เน้นไปทางวิชาการมากเกินไป หรือเพื่อความง่ายและคุ้นเคยที่จะพูด ก็จะใช้คำว่า Virus แทนคำว่า Malware แต่ถ้าจะคิดถึงความจริงแล้วมันไม่ถูกต้อง อาจจะเป็นเพราะความเคยชินหรืออะไรก็ตาม จึงกลายเป็นว่าคนส่วนใหญ่ใช้คำว่า Virus แทนคำว่า Worm, Trojan, Spyware, Adware เป็นต้น ที่ถูกต้องควรใช้คำว่ามัลแวร์ (Malware) เพราะมัลแวร์มีหลายชนิด แต่ละชนิดก็ไม่เหมือนกัน


2. ไวรัสคอมพิวเตอร์ หรือโปรแกรมที่มีเจตนาไม่ดีต่อคอมพิวเตอร์  แบ่งเป็นหมวดหมู่ หรือประเภทอย่างไรบ้าง

ไวรัสคอมพิวเตอร์ในโลกนี้มีนับล้านๆ ตัวแต่คุณรู้ใหมครับว่าดดยพื้นฐานของมันแล้วมาจากแหล ่งกำเหนิดที่เหมือนๆ กันซึ่งเราสามารถแบ่งประเภทของไวรัสคอมพิวเตอร์ออกมา ได้ดังนี้


1. บูตเซกเตอร์ไวรัส (Boot Sector Viruses) หรือ Boot Infector Viruses คือไวรัส
ที่เก็บตัวเองอยู่ในบูตเซกเตอร์ของดิสก์ การใช้งานของบูตเซกเตอร์ คือเมื่อเครื่องคอมพิวเตอร์เริ่มทำงาน
ขึ้นมาครั้งแรก เครื่องจะเข้าไปอ่านบูตเซกเตอร์ โดยในบูตเซกเตอร์จะมีโปรแกรมเล็ก ๆ ไว้ใช้ในการเรียก
ระบบปฏิบัติการขึ้นมาทำงาน 

การทำงานของบูตเซกเตอร์ไวรัสคือ จะเข้าไปแทนที่โปรแกรมที่อยู่ในบูตเซกเตอร์ โดยทั่วไปแล้วถ้าติดอยู่ในฮาร์ดดิสก์ จะเข้าไปอยู่บริเวณที่เรียกว่า Master Boot Sector หรือ Partition Table ของฮาร์ดดิสก์นั้น ถ้าบูตเซกเตอร์ของดิสก์ใดมีไวรัสประเภทนี้ติดอยู่ ทุก ๆ ครั้งที่บูตเครื่องขึ้นมา เมื่อมีการเรียนระบบปฏิบัติการ จากดิสก์นี้ โปรแกรมไวรัสจะทำงานก่อนและเข้าไปฝังตัวอยู่ในหน่วยค วามจำเพื่อเตรียมพร้อมที่จะทำงานตามที่ได้ถูกโปรแกรม มา ก่อนที่จะไปเรียนให้ระบบปฏิบัติการทำงานต่อไป ทำให้เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น 

2. โปรแกรมไวรัส (Program Viruses) หรือ File Intector Viruses เป็นไวรัสอีกประเภทหนึ่ง
ที่จะติดอยู่กับโปรแกรม ซึ่งปกติจะเป็นไฟล์ที่มีนามสกุลเป็น COM หรือ EXE และบางไวรัสสามารถเข้าไปอยู่ใน
โปรแกรมที่มีนามสกุลเป็น SYS ได้ด้วยการทำงานของไวรัสประเภทนี้ คือ เมื่อมีการเรียกโปรแกรมที่ติดไวรัส ส่วนของไวรัสจะทำงานก่อนและจะถือโอกาสนี้ฝังตัวเข้าไ ปอยู่ในหน่วยความจำทันทีแล้วจึงค่อยให้โปรแกรมนั้นทำ งานตามปกติ เมื่อฝังตัวอยู่ในหน่วยความจำแล้วหลังจากนี้หากมีการ เรียกโปรแกรมอื่น ๆ ขึ้นมาทำงานต่อ ตัวไวรัสจะสำเนาตัวเองเข้าไปในโปรแกรมเหล่านี้ทันที เป็นการแพร่ระบาดต่อไป 

นอกจากนี้ไวรัสนี้ยังมีวิธีการแพร่ระบาดอีกคือ เมื่อมีการเรียกโปรแกรมที่มีไวรัสติดอยู่ ตัวไวรัสจะเข้าไปหา โปรแกรมอื่น ๆ ที่อยู่ติดเพื่อทำสำเนาตัวเองลงไปทันที แล้วจึงค่อยให้โปรแกรมที่ถูกเรียกนั้นทำงานตามปกติต่ อไป 

3. ม้าโทรจัน (Trojan Horse) เป็นโปรแกรมที่ถูกเขียนขึ้นมาให้ทำตัวเหมือนว่าเป็นโ ปรแกรมธรรมดา ทั่ว ๆ ไป เพื่อหลอกล่อผู้ใช้ให้ทำการเรียนขึ้นมาทำงาน แต่เมื่อถูกเรียกขึ้นมา ก็จะเริ่มทำลายตามที่โปรแกรมมาทันที ม้าโทรจันบางตัวถูกเขียนขึ้นมาใหม่ทั้งชุด โดยคนเขียนจะทำการตั้งชื่อโปรแกรมพร้อมชื่อรุ่นและคำ อธิบาย การใช้งาน ที่ดูสมจริง เพื่อหลอกให้คนที่จะเรียกใช้ตายใจ 

จุดประสงค์ของคนเขียนม้าโทรจันคือเข้าไปทำอันตรายต่อ ข้อมูลที่มีอยู่ในเครื่อง หรืออาจมีจุดประสงค์เพื่อที่จะล้วง เอาความลับของระบบคอมพิวเตอร์ ม้าโทรจันถือว่าไม่ใช่ไวรัส เพราะเป็นโปรแกรมที่ถูกเขียนขึ้นมาโดด ๆ และจะไม่มีการ

เข้าไปติดในโปรแกรมอื่นเพื่อสำเนาตัวเอง แต่จะใช้ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของผู้ใช้ เป็นตัวแพร่ระบาดซอฟต์แวร์ที่มี ม้าโทรจันอยู่ในนั้นและนับว่าเป็นหนึ่งในประเภทของโป รแกรมที่มีความอันตรายสูง เพราะยากที่จะตรวจสอบและ สร้างขึ้นมาได้ง่าย ซึ่งอาจใช้แค่แบต์ไฟล์ก็สามารถโปรแกรมม้าโทรจันได้ 

4. โพลีมอร์ฟิกไวรัส (Polymorphic Viruses) เป็นชื่อที่ใช้เรียกไวรัสที่มีความสามารถในการแปรเปล ี่ยนตัวเอง ได้เมื่อมีการสร้างสำเนาตัวเองเกิดขึ้น ซึ่งอาจได้ถึงหลายร้อยรูปแบบ ผลก็คือ ทำให้ไวรัสเหล่านี้ยากต่อการถูกตรวจจัดโดยโปรแกรมตรว จหาไวรัสที่ใช้วิธีการสแกนอย่างเดียว ไวรัสใหม่ ๆ ในปัจจุบันที่มีความสามารถนี้เริ่มมีจำนวนเพิ่มมากขึ ้นเรื่อย ๆ 

5. สทิลต์ไวรัส (Stealth Viruses) เป็นชื่อเรียกไวรัสที่มีความสามารถในการพรางตัวต่อกา รตรวจจับได้ เช่น ไฟล์อินเฟกเตอร์ ไวรัสประเภทที่ไปติดโปรแกรม ใดแล้วจะทำให้ขนาดของ โปรแกรมนั้นใหญ่ขึ้น ถ้าโปรแกรมไวรัสนั้นเป็นแบบสทิสต์ไวรัส จะไม่สามารถตรวจดูขนาดที่แท้จริงของโปรแกรมที่เพิ่มข ึ้นได้ 

เนื่องจากตัวไวรัสจะเข้าไปควบคุมดอส เมื่อมีการใช้คำสั่ง DIR หรือโปรแกรมใดก็ตามเพื่อตรวจดูขนาดของโปรแกรม ดอสก็จะแสดงขนาดเหมือนเดิม ทุกอย่างราวกับว่าไม่มีอะไรเกิดขึ้น 

6. Macro viruses จะติดต่อกับไฟล์ซึ่งใช้เป็นต้นแบบ (template) ในการสร้างเอกสาร (documents หรือ spreadsheet) หลังจากที่ต้นแบบในการใช้สร้างเอกสาร ติดไวรัสแล้ว ทุก ๆ เอกสารที่เปิดขึ้นใช้ด้วยต้นแบบอันนั้นจะ

3. บอกรายละเอียด ลักษณะสำคัญของ ไวรัสคอมพิวเตอร์ หรือโปรแกรมที่มีเจตนาไม่ดีต่อคอมพิวเตอร์ ประเภทต่างๆ

บูตไวรัส

บูตไวรัส (boot virus) คือไวรัสคอมพิวเตอร์ที่แพร่เข้าสู่เป้าหมายในระหว่างเริ่มทำการบูตเครื่อง ส่วนมาก มันจะติดต่อเข้าสู่แผ่นฟลอปปี้ดิสก์ระหว่างกำลังสั่งปิดเครื่อง เมื่อนำแผ่นที่ติดไวรัสนี้ไปใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ ไวรัสก็จะเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ตอนเริ่มทำงานทันที
บูตไวรัสจะติดต่อเข้าไปอยู่ส่วนหัวสุดของฮาร์ดดิสก์ ที่มาสเตอร์บูตเรคคอร์ด (master boot record) และก็จะโหลดตัวเองเข้าไปสู่หน่วยความจำก่อนที่ระบบปฏิบัติการจะเริ่มทำงาน ทำให้เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น

[แก้]ไฟล์ไวรัส

ไฟล์ไวรัส (file virus) ใช้เรียกไวรัสที่ติดไฟล์โปรแกรม เช่นโปรแกรมที่ดาวน์โหลดจากอินเทอร์เน็ต นามสกุล.exe โปรแกรมประเภทแชร์แวร์เป็นต้น

[แก้]หนอน

หนอน (Worm) เป็นรูปแบบหนึ่งของไวรัส มีความสามารถในการทำลายระบบในเครื่องคอมพิวเตอร์สูงที่สุดในบรรดาไวรัสทั้ง หมด สามารถกระจายตัวได้รวดเร็ว ผ่านทางระบบอินเทอร์เน็ต ซึ่งสาเหตุที่เรียกว่าหนอนนั้น คงจะเป็นลักษณะของการกระจายและทำลาย ที่คล้ายกับหนอนกินผลไม้ ที่สามารถกระจายตัวได้มากมาย รวดเร็ว และเมื่อยิ่งเพิ่มจำนวนมากขึ้น ระดับการทำลายล้างยิ่งเพิ่มมากขึ้น ไวรัสที่ไม่สามารถสแกนได้

[แก้]อื่นๆ

[แก้]โทรจัน

ม้าโทรจัน (Trojan) คือโปรแกรมจำพวกหนึ่งที่ถูกออกแบบขึ้นมาเพื่อแอบแฝง กระทำการบางอย่าง ในเครื่องของเรา จากผู้ที่ไม่หวังดี ชื่อเรียกของโปรแกรมจำพวกนี้ มาจากตำนานของม้าไม้แห่งเมืองทรอยนั่นเอง ซึ่งการติดนั้น ไม่เหมือนกับไวรัส และหนอน ที่จะกระจายตัวได้ด้วยตัวมันเอง แต่โทรจัน (คอมพิวเตอร์)จะถูกแนบมากับ อีการ์ด อีเมล์ หรือโปรแกรมที่มีให้ดาวน์โหลดตามอินเทอร์เน็ตในเว็บไซต์ใต้ดิน และสุดท้ายที่มันต่างกับไวรัสและเวิร์ม คือ มันจะสามารถเข้ามาในเครื่องของเรา โดยที่เราเป็นผู้รับมันมาโดยไม่รู้ตัวนั่นเอง




4. บอกวิธีการป้องกันและกำจัดไวรัสคอมพิวเตอร์ หรือโปรแกรมที่มีเจตนาไม่ดีต่อคอมพิวเตอร์



ขั้นตอนการทำ Sysclean
1. เปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ Log On บนโดเมน TGFOREST (หากทำการ Log On บนโดเมน (Domain)ไม่ได้ ให้ตรวจสอบได้จาก วิธีการ Log On บน Domain)
2. Map Network Drive โดย Clickขวา ที่ My Netwark Places หรือ Network Neiborhood แล้วเลือกที่ Map Network drive...
คลิกขวาที่ My Netwark Places
3. ช่อง Path ให้ใส่ \\software\sysclean หรือ \\software\sw (หากมีเครื่องหมายถูกหน้าช่อง Reconnect at log on ให้เอาออก)
หน้าต่างของการทำ Map Network drive...
แล้วกด OK ปุ่ม OK
4. เปิด My Computer Icon My Computer แล้วเข้าไปยัง Driveที่ Map มาจากขั้นตอนใน หัวข้อที่ 2 และ 3
Drive ที่ได้จากการ Map
สำหรับ Windows ME มี้วิธีการทำดังนี้
1. คลิกขวาที่ My Computer บน Desktop และคลิกเลือกที่เมนู Properties
2. คลิกที่ Performance Tab
3. คลิกที่ File System Button
4. คลิกที่ Troubleshooting Tab
5. เลือก Disable System Restore แล้วกด OK
6. คลิก Apply > Close > Close
7. ถอดสายแลนออกก่อนที่จะ Restart เครื่อง
8. เมื่อขึ้นปุ่ม Restart ให้คลิก Yes 
9. กด F8 ขณะที่เครื่องกำลัง Restart ใหม่
10. เลือก Safe Mode แล้วกด Enter จะปรากฎหน้าจอ Safe Mode
หน้า Safe Mode ของ Windows XP
11. เมื่อเข้าสู่ Windows ใน Safe Mode แล้ว ให้เข้าไปที่ My Computer Icon My Computer และเข้าไปยัง Folder Sysclean  ที่ Copy ไว้
12. เปิด Program Sysclean ที่ Icon syscleanIcon ที่ใช้เปิด Program Sysclean จะแสดงปรากฎหน้าจอของ Program
หน้าต่าง Program Sysclean
แล้วทำการสั่ง Scan โดยกดปุ่ม Scan  หรือกด Enter
13. รอจนกระทั่ง Program Sysclean Scan เสร็จเรียบร้อย ให้ Restart Windows และเข้าสู่ Windows ตามปกติ
14. เมื่อเข้าสู่ Windows แล้วให้ทำการ Scan ด้วย Office Scan อีกครั้งหนึ่ง
Office Scan...
15. หลังจากฆ่าไวรัสเรียบร้อยแล้ว ให้อ่านวิธีป้องกันไวรัสได้ที่หน้า วิธีป้องกันไวรัส

สำหรับ Windows XP มีวิธีการทำดังนี้
1. Log on โดยใช้ User ที่เป็น Administrator ของเครื่อง
2. คลิกขวาที่ My Computer บน Desktop และคลิกเลือกที่เมนู Properties
3. คลิกที่ System Restore Tab
4. เลือก Turn Off System Restore
5. คลิก Apply > Yes > OK
7. ถอดสายแลนออกก่อนที่จะ Restart เครื่อง
8. เมื่อขึ้นปุ่ม Restart ให้คลิก Yes
9. กด F8 ขณะที่เครื่องกำลัง Restart ใหม่
10. เลือก Safe Mode แล้วกด Enter จะปรากฎหน้าจอ Safe Mode
หน้า Safe Mode ของ Windows XP
11. เมื่อเข้าสู่ Windows ใน Safe Mode แล้ว ให้เข้าไปที่ My Computer Icon My Computer และเข้าไปยัง Folder Sysclean  ที่ Copy ไว้
12. เปิด Program Sysclean ที่ Icon syscleanIcon ที่ใช้เปิด Program Sysclean จะแสดงปรากฎหน้าจอของ Program
หน้าต่าง Program Sysclean
แล้วทำการสั่ง Scan โดยกดปุ่ม Scan  หรือกด Enter
13. รอจนกระทั่ง Program Sysclean Scan เสร็จเรียบร้อย ให้ Restart Windows และเข้าสู่ Windows ตามปกติ
14. เมื่อเข้าสู่ Windows แล้วให้ทำการ Scan ด้วย Office Scan อีกครั้งหนึ่ง
Office Scan...
15. หลังจากฆ่าไวรัสเรียบร้อยแล้ว ให้อ่านวิธีป้องกันไวรัสได้ที่หน้า วิธีป้องกันไวรัส


5. ยกตัวอย่างโปรแกรมที่ใช้ในการป้องกัน และกำจัดไวรัสคอมพิวเตอร์ 



ถ้าเกิดว่าเครื่องของคุณมีอาการแปลกๆอย่างเช่นอยู่ดีๆมีข้อความแปลกๆที่ไม่น่าจะเป็นของโปรแกรมที่ใช้อยู่เป็นประจำเด้งขึ้นมาคอมช้ากว่าปกติ หรือการแสดงผลของหน้าจอผิดเพี้ยนไปผมขอบอกว่าคุณโชคดีแล้วล่ะครับที่คุณสามารถสังเกตเห็นเจ้าไวรัสเหล่านี้เพราะไวรัสส่วนใหญ่ในปัจจุบันต่างใช้วิธีติดตั้งอยู่ในเครื่องอย่างแนบเนียนไม่ให้เจ้าของเครื่องรู้ว่าโดนติดตั้งอยู่แต่จะคอยดักจับข้อมูลต่างๆเช่น รหัสบัตรเครดิต หรือข้อมูลสำคัญๆในเครื่อง การรู้ว่าไวรัสนั้นมีอยู่ในเครื่องของเราเป็นสิ่งที่ดีกว่าโดยขโมยข้อมูลโดยไม่รู้ตัวเยอะครับ
เอาล่ะ มาเริ่มกันเลยดีกว่าก่อนอื่นถ้าเรารู้ตัวแล้วว่าเครื่องเราติดไวรัสให้ทำการตัดการเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตทันทีครับ เพราะเจ้าไวรัสพวกนี้ปกติแล้วมันจะไม่ได้เข้ามาตัวเดียวหรอกแต่พอมันเข้ามาได้แล้วมันจะเปิดช่องให้พวกเพื่อนๆของมันเข้ามากันตรึมครับ ปิดเน็ตไปเลยปลอดภัยไว้ก่อนดีกว่าครับจากนั้นให้ดูตามรูปที่ผมวาดไว้ข้างล่าง ยกตัวอย่างนะครับถ้าสมมุติกว่าคอมคุณติดไวรัสคุณก็ต้องดูว่าตอนนี้คุณเข้าใช้งานวินโดวได้ตามปกติหรือไม่ถ้าได้ก็ให้ไปหัวข้อ B ลองทำ System Restore ดูครับว่าหายรึป่าว ถ้าไม่หายอีกก็ให้ไปที่หัวข้อ C ลองใช้แอนตี้ไวรัสสแกนแล้วลบดูว่าช่วยได้หรือไม่ถ้ายังไม่ได้อีกผมก็แนะนำตามหัวข้อ D ก็คือโหลดแอนตี้ไวรัสที่มีประสิทธิภาพสูง (แต่เป็นเวอร์ชั่นทดลองใช้งานฟรี)มาลองจัดการไวรัสดูครับ ถึงตอนนี้ถ้าหายก็จบครับสบายใจได้ แต่ถ้าไม่หายล่ะก็...คงถึงเวลาต้องลงวินโดวใหม่หมดแล้วล่ะครับ แก้เสร็จแล้วก็อย่างลืมป้องกันไว้ก่อนนะครับ คราวหน้าจะได้ไม่ติดอีก
 
A: ถ้าหากพ่อแม่พี่น้องไม่สามารถเข้าวินโดวตามปกติได้เลย อันนี้อาการค่อนข้างโคม่าทีเดียวล่ะครับสงสัยว่าคงติดไวรัสมานานแล้วแต่ไม่ได้จัดการ เลยโดยไวรัสมันจัดการซะก่อนอันนี้ผมแนะนำให้ตอนเปิดเครื่องมา หรือตอนบูตเครื่องนั่นแหละ ให้กดปุ่ม F8 รัวๆครับ แล้วมันจะมีหัวข้อให้เลือกหลายอันครับให้เลือกหัวข้อ Safe mode ครั(ในโหมดนี้จะเป็นการเรียกเฉพาะโปรแกรมพื้นฐานบนเครื่องขึ้นมาใช้เท่านั้นซึ่งผมก็หวังว่าในโหมดนี้พวกไวรัสก็จะไม่ถูกเรียกขึ้นมาด้วยเหมือนกัน) ถ้าเข้า Safemode ได้แล้ว แล้วดูเหมือนว่าจะใช้งานได้ค่อนข้างปกติ(ซึ่งสีของจออาจจะดูเพี้ยนๆไปบ้าง) ให้ทำตามในข้อ B ต่อไปครับ แต่ถ้า Safe mode เข้าไปแล้วยังมีปัญหา หรือเข้าไม่ได้ ผมแนะนำข้อE ลงวินโดว์ใหม่ครับ
  
{รูปนี้เป็นภาพของ safe mode ครับ การแสดงผลหน้าจออาจจะผิดเพี้ยนไปบ้างแล้วถ้าสังเกตบริเวณมุมขวาล่างของหน้าจอจะเห็นว่าในโหมดนี้วินโดวจะโหลดเฉพาะโปรแกรมที่จำเป็นจริงๆเท่านั้นขึ้นมา}

B: หนทางแรกที่ผมจะแนะนำหลังจากเข้าวินโดวได้แล้วคือ การย้อนเวลากลับไปสู่อดีตที่ยังไม่ติดไวรัสครับ วิธีนี้เป็นวิธีที่ง่ายทีเดียวครับ คือให้กดปุ่ม Start Menu แล้วเลือก AllPrograms เลือก Accessories => System Tools => System Restore
 
เสร็จแล้วกด next แล้วให้เราเลือก วันเวลาก่อนหน้าที่จะติดไวรัสลองนึกดูครับว่าอาการแปลกๆมันเริ่มตั้งแต่เมื่อไหร่เลือกช่วงเวลาก่อนหน้านั้นเลยครับ
 
ง่ายมั้ยล่ะครับแค่ย้อนเวลาแต่โดยส่วนมากแล้วพวกไวรัสจะรู้ทันมุขนี้อยู่เสมอๆ มันก็จะพยายามขัดขวางไม่ให้เราทำSystem Restore ซึ่งถ้าไวรัสในเครื่องคุณขัดขวางไม่ให้ System Restore ทำงานได้สำเร็จแล้วล่ะก็ไปต่อข้อ C เลยครับ

C: ถ้ามาถึงตอนนี้เจ้าไวรัสยังไม่ยอมลาจากคอมของเราแล้วล่ะก็ต้องให้พระเอกช่วยแล้วหล่ะครับ
-             ในกรณีที่เครื่องคุณมีโปรแกรม antivirus อยู่แล้วให้ทำการอัพเดตตัวโปรแกรมให้เป็นเวอร์ชั่นใหม่ล่าสุดแล้วสแกนเครื่องคอมพิวเตอร์ดูครับ
-             แต่ถ้าคุณยังไม่มีโปรแกรม antivirus ในเครื่องก็ให้โหลดโปรแกรมที่ผมแนะนำไว้ในหัวข้อวิธีการป้องกันไวรัสมาใช้ครับแต่อย่าลืมอัพเดตให้เป็นตัวล่าสุดก่อนนะครับ จากนั้นก็ลองสแกนเครื่องดูกันเลย
 
{รูปนี้เป็นโฉมหน้าโปรแกรม Avast Home Edition ที่ผมแนะนำครับให้กดปุ่มขวาบนที่เป็นเหมือนรูปฮาร์ดดิส แล้วกดปุ่มสามเหลี่ยมทางด้านซ้ายที่เหมือนๆปุ่มเพลย์เวลาดูหนังอะครับ}
 
{รูปนี้เป็นรูปโปรแกรม Malwarebyte's antimalware ครับให้เลือกแถบที่ชื่อว่า update ก่อนเผื่ออัพเดตตัวโปรแกรมเป็นตัวล่าสุด}
 
{เสร็จแล้วก็สแกนกันเลยครับ กดเลือก perform full scan ไปเลย}
หลังจากสแกนเสร็จเราก็มาดูครับว่าคอมพิวเตอร์ของเราเข้าสู่ภาวะปกติรึยังถ้ายังอีกล่ะก็ไปต่อข้อ D

D: ถ้าใช้โปรแกรมในข้อ C ไปแล้วยังไม่ได้ผล ก่อนอื่นผมต้องบอกก่อนครับว่าโปรแกรมแอนตี้ไวรัสแต่ล่ะตัวนั้นมีประสิทธิภาพการทำงานที่แตกต่างกันตัวที่ผมแนะนำไปในข้อ C เป็นของฟรีครับซึ่งต้องยอมรับว่าประสิทธิภาพอาจจะต่ำกว่าโปรแกรมเสียตังอยู่พอสมควรถ้าโปรแกรมที่ผมแนะนำไปยังใช้ไม่ได้ผล สงสัยต้องลองโปรแกรมเสียตังกันแล้วครับแต่เด๋วก่อนนะครับ ตามหัวข้อบทความข้างบนผมไม่ยอมให้พ่อแม่พี่น้องเสียตังค์กันหรอกครับ คืออย่างงี้ครับเราโชคดีอย่างมากที่โปรแกรมแอนตี้ไวรัสที่ไม่ฟรีนั้น ถึงแม้มันจะไม่ฟรีแต่ว่าเราสามารถดาวโหลดมาทดลองใช้ได้ฟรีเป็นเวลา30 วันครับ โปรแกรมที่ผมอยากจะแนะนำทุกท่านคือ Kaspersky Internet Security 2009 ดาวโหลดฟรีได้จากเว็บhttp://www.kaspersky.com/trials เลยครับ ก่อนหน้าติดตั้งKaspersky Internet Security 2009ให้uninstallโปรแกรม antivirus ที่มีอยุ่ในเครื่องทั้งหมดออกก่อนนะครับ
 
{ตามสูตรครับ กด update ก่อน หลังจากนั้นก็สแกนหาไวรัสกันเลย}
หลังจากทำตามวิธีข้อ D แล้วจะต้องมีคนอยู่ 2 กลุ่มครับกลุ่มแรกคือหายเป็นปกติครับ อันนี้ผมขอแสดงความดีใจด้วยแต่อย่าลืมครับว่าโปรแกรมที่เราโหลดมานั้นเป็นเวอร์ชั่นทดลองครับ ใช้งานได้แค่ 30วัน หลังจาก 30 วันไปแล้วแล้วแต่คุณแล้วล่ะครับว่าพอใจกับการใช้งานของตัวโปรแกรมหรือไม่ถ้าถูกใจก็ไปหาซื้อเลยก็ได้ครับ เข้าใจว่าราคาไม่เกิน 1000 บาทแต่ถ้าคุณอยากประหยัดเงินแล้วล่ะก็ ใช้โปรแกรมฟรีที่ผมแนะนำไปก็ได้ครับแล้วก็อ่านวิธีการป้องกันไว้ก่อนด้วย ในบทความตอนที่ 1 ผมว่าก็น่าจะโอเคแล้วนะ
ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งที่ยังไม่หายแล้วล่ะก็ มันก็เป็นไปได้ว่าไวรัสในเครื่องคุณมันโหดจริงๆหรือไม่ก็เป็นตัวที่พึ่งออกใหม่จริงๆอันนี้ผมแนะนำให้รอไปก่อนอีกซัก 1 อาทิตย์ เพราะคนทำโปรแกรมของ kaspersky เค้าอาจจะหาวิธีแก้ไขไวรัสตัวนี้ได้แล้วก็ปล่อยมาให้เราอัพเดตโปรแกรมต่อไป (เราก็รออัพเดตโปรแกรมแล้วสแกนดูทุกวันครับ)แต่ถ้าผ่านไปอาทิตย์นึงแล้วยังไม่มีไรดีขึ้น หรือคุณขี้เกียจรอแล้วล่ะก็... ตามข้อE เลยครับ ลงวินโดวใหม่!

E: ถ้าหมดทางเลือกแล้วจริงๆ ผมก็แนะนำให้ลงวินโดวใหม่ครับแต่หลังจากลงวินโดวใหม่แล้วผมแนะนำให้ป้องกันไวรัสไว้ก่อนก็ดีนะครับ โดยเฉพาะ flashdriveหรือexternal harddisk ที่เคยเสียบกับคอมตอนก่อนลงวินโดวใหม่ มันอาจจะมีไวรัสอยู่ก็ได้แนะนำให้อ่าน ลาก่อนเจ้าไวรัสตัวร้าย: วิธีป้องกันและกำจัดไวรัสฉบับอ่านง่ายรวดเร็ว ด้วยวิธีแบบฟรีๆ ตอนที่1

หมายเหตุ ในบทความนี้ผมจะใช้คำว่าไวรัสตลอด เพราะไม่อยากให้ผู้อ่านสับสน แต่จริงๆแล้ว ใช้คำว่าไวรัสมันก็ไม่ถูกซะทีเดียวผมเลยคิดว่าน่าจะให้ความหมายของคำศัพท์ เอาไว้ด้วย ตามนี้ครับ 
• Virus: เป็นตัวที่ก่อปัญหา เช่น ลบไฟล์เอกสารสำคัญทำให้เครื่องเปิดไม่ได้ เป็นต้น แต่ปัจจุบันลดจำนวนลงค่อนข้างมาก เพราะคนสร้างไวรัสสร้างไปแล้วก็ไม่ได้ประโยชน์อะไรขึ้นมา
• Malware: เป็นชื่อเรียกรวมๆของ spywareadware พวกนี้ได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน เพราะมันสามารถขโมยรหัสบัตรเครดิต, password อีเมล พูดง่ายๆคือ มันจะขโมยตังค์คนที่โดนนั่นเอง หรือบางทีมันก็ขึ้นมาเป็นโฆษณาที่สร้างความลำคาญก็มีเหมือนกัน
• Trojan: เหมือนกับม้าโทรจันในหนัง troy คือ ถ้ามันเข้ามาในเครื่องแล้วมันจะเปิดประตูให้ไวรัส และมัลแวร์จำนวนมากเข้ามาในเครื่องได้ ถ้าเครื่องติดโทรจันถือว่าอาการหนัก  ปัจจุบันได้รับความนิยมอย่างสูงมาก
• Rootkit: ขออธิบายว่าโหดมาก คือถ้าติดแล้วโอกาสที่จะแก้ได้ยาก rootkit จะเป็นเหมือนโทรจัน หรือไวรัสขั้นสูงสามารถหลบหลีกการตรวจจับของโปรแกรมแอนตี้ไวรัสได้ หรือถ้าตรวจจับได้ก็อาจจะกำจัดไม่ได้ ปัจจุบันกำลังได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ
• Antivirus software: กำจัดไวรัสได้อย่างเดียว กำจัด malware ได้บ้าง และอาจจะกำจัดโทรจันได้ ถ้าติดตั้งantivirus software แนะนำให้ติดตั้ง antispyware software เพิ่มด้วย

antivirus ที่แนะนำคือ avast home edition (สาเหตุที่แนะนำเพราะมันทำงานได้เร็วมากและฟรีด้วย) 
• Antispyware software: ส่วนใหญ่จะกำจัดได้แต่ spyware อย่างเดียว แต่ก็มีประโยชน์มาก เพราะปัจจุบัน spyware ได้รับความนิยมอย่างมาก
โปรแกรมที่แนะนำคือ malwarebyte’s anti-malware (ฟรี)
• Internet security: เป็นชุดโปรแกรมที่รวม anti-virus, anti-spyware, firewall, anti-phishingand anti-rootkit เข้าด้วยกัน โปรแกรมแบบนี้ดีสุด ป้องกันได้สูงสุด
โปรแกรมที่แนะนำคือ Nortoninternet security (ราคาประมาณ 1000 บาท)
• Firewall: เป็นเหมือนด่านตรวจคนเข้าเมืองจะช่วยป้องกันโทรจันและป้องกันเครื่องไม่ให้ถูกแฮ็ก
• Anti-phishing: คือ สมัยนี้จะมีการสร้างหน้าเว็บหลอกขึ้นมาเพื่อหลอกขโมยพาสเวิร์ดบัตรเครดิตถ้า เราดันกรอกข้อมูลลงไปในเว็บหลอกซึ่งทำได้เหมือนหน้าเว็บจริงๆอย่างมาก เราก็โดนขโมยตังค์ (ส่วนใหญ่พวกนี้จะส่งลิ้งเว็บหลอกมาทางอีเมลล์ ซึ่งก็มีความเป็นได้ว่าเครื่องคอมของท่านโดน spyware มาก่อนแล้วแฮกเกอร์จึงรุ้ว่าคุณทำธุรกรรมการเงินผ่านเว็บไหนบ้างแล้วจึงทำ เว็บหลอกที่เหมือนจริงออกมา)
6. ดาวน์โหลด โปรแกรม Nod32 พร้อมแสดงวิธีการติดตั้งและใช้งาน รวมทั้งวิธีการอัพเดท ให้ทันต่อไวรัส

คุณธรรมจริยธรรมในการใช้อินเตอร์เน็ต
กล่าวถึงบัญญัติสิบประการของการใช้คอมพิวเตอร์ไว้ดังนี้
1. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้ายผู้อื่น
2. ไม่รบกวนจนงานคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น
3. ไม่แอบดูแฟ้มข้อมูลของผู้อื่น
4. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อลักขโมย
5. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อเป็นพยานเท็จ
6. ไม่ใช้หรือทำสำเนาซอฟต์แวร์ที่ตนไม่ได้ซื้อสิทธิ์
7. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยไม่มีอำนาจหน้าที่
8. ไม่ฉวยเอาทรัพย์ทางปัญญาของผู้อื่นมาเป็นของตน
9. คิดถึงผลต่อเนื่องทางสังคมของโปรแกรมที่เขียน
10. ใช้คอมพิวเตอร์ในทางที่แสดงถึงความใคร่ครวญและเคารพ
การทำงานอินเทอร์เน็ตอย่างสร้างสรรค์และเกิดประโยชน์ จะทำให้สังคมอินเทอร์เน็ตอย่างสร้างสรรค์และเกิดประโยชน์จะทำให้สังคมอินเทอร์เน็ต น่าใช้และเป็นประโยชน์ กิจกรรมบางอย่างที่ไม่ควรปฏิบัติจะต้องหลีกเลี่ยง ในการส่งกระจายข่าวลือไปเป็นจำนวนมาบนเครือข่าย การส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แบบลูกโซ่ เป็นต้น ดังนั้นนักเรียนควรปฏิบัติตามกฎ กติกา มารยาท หรือ จรรยาบรรณของการรวบรวมเว็บไซด์ต่าง ๆ เอาไว้ เราเพียงแต่ทราบหัวข้อที่ต้องการแล้วเข้าใช้อินเทอร์เน็ตในด้านต่อไปนี้คือ
· การใช้บริการพูดคุยกันแบบออนไลน์ (Chat )
· การใช้กระดานข่าวหรือเว็บบอร์ด
· การใช้บริการพูดคุยกันแบบออนไลน์ (Chat)
บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีบริการโต้ตอบแบบออนไลน์ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Chat ดังนั้นในการสนทนาจะต้องมีมารยาท อีกอย่างหนึ่งว่า Chat ดังนั้นในการสนทนาจะต้องมีมารยาทสำคัญดังนี้
· ควรเรียกสนทนาจากผู้ที่เรารู้จักและต้องการสนทนาด้วย หรือมีเรื่องสำคัญที่จะติดต่อด้วย
· ควรใช้วาจาสุภาพและให้เกียรติซึ่งกันและกัน
· ก่อนเรียกสนทนา ควรตรวจสอบสถานะการใช้งานของคู่สนทนาที่ต้องการเรียก เพราะการเรียกแต่ละครั้งจะมีข้อความไปปรากฎบนจอภาพ ของฝ่ายที่ถูกเรียกซึ่งจะทำให้สร้างปัญหาในการทำงานได้
·การใช้บริการกระดานข่าวหรือเว็บบอร์ด
บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีบริการกระดานข่าวหรือเว็บบอร์ดให้ผู้ใช้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น หรือข้อมูลข่าวสารถึงกัน ดังนั้นในการใช้ บริการควรเคารพกฎ กติกา มารยาทดังนี้
· ในการเขียนพาดพิงถึงผู้อื่น ให้ระมัดระวังการระเมิดหรือสร้างความเสียหายแก่ผู้อื่น
· ไม่ควรนำข้อความที่ผู้อื่นเขียน ไปกระจายต่อโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเข้าของเรื่อง
· ไม่ควรใช้ข้อความขบขัน คำเฉพาะ คำกำกวม และคำหยาบคายในการเขียนข่าว
· ในการเขียนคำถามลงในกลุ่มข่าวจะต้องเขียนให้ตรงกับกลุ่มและเมื่อจะตอบต้องตอบให้ตรงประเด็น
จริยธรรมในการใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
1. ไม่โฆษณาหรือเสนอขายสินค้า
2. รู้ตัวว่ากำลังกล่าวอะไร
3. ถ้าไม่เห็นด้วยกับหลักพื้นฐานของรายชื่อกลุ่มที่ตนเป็นสมาชิก ก็ควรออกจากกลุ่มไม่ควรโต้แย้ง
4. คิดก่อนเขียน
5. อย่าใช้อารมณ์
6. พยายามอ่านคำถามที่ถามบรอย (FAQ) ก่อนเสมอ
7. ไม่ส่งข่าวสารที่กล่าวร้าย หลอกลวง หยาบคาย ข่มขู่
8. ไม่ส่งต่อจดหมายลูกโซ่ หรือเมล์ขยะ
9. ถ้าสงสัยไม่ทำดีกว่า
10. รู้ไว้ด้วยว่าสำหรับผู้เขียน คือ บันทึกฉันท์เพื่อน แต่สำหรับผู้รับ คือ ข้อความที่จารึกไว้บนศิลาจารึก
11. ให้ความระมัดระวังกับคำเสียดสี และอารมณ์ขัน
12. อ่านข้อความในอีเมล์ ให้ละเอียดก่อนส่ง ความประณีตและตัวสะกด การันต์ เป็นสิ่งที่ควรคำนึงถึง
13. ดูรายชื่อผู้รับให้ดีว่า เขาคือคนที่เราตั้งใจจะส่งไปถึง

พรบ. คอมพิวเตอร์ 2550 ทุกคนที่ใช้คอมพิวเตอร์ต้องรู้
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมาย ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐”
มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัตินี้ “ระบบคอมพิวเตอร์” หมายความว่า อุปกรณ์หรือชุดอุปกรณ์ของคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมการทำงานเข้าด้วยกัน โดยได้มีการกำหนดคำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใด และแนวทางปฏิบัติงานให้อุปกรณ์หรือชุดอุปกรณ์ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลโดยอัตโนมัติ
“ข้อมูลคอมพิวเตอร์” หมายความว่า ข้อมูล ข้อความ คำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใดบรรดาที่อยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ในสภาพที่ระบบคอมพิวเตอร์อาจประมวลผลได้ และให้หมายความรวมถึงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ด้วย
“ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์” หมายความว่า ข้อมูลเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งแสดงถึงแหล่งกำเนิด ต้นทาง ปลายทาง เส้นทาง เวลา วันที่ ปริมาณ ระยะเวลาชนิดของบริการ หรืออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการติดต่อสื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์นั้น
“ผู้ให้บริการ” หมายความว่า
(๑) ผู้ให้บริการแก่บุคคลอื่นในการเข้าสู่อินเทอร์เน็ต หรือให้สามารถติดต่อถึงกันโดยประการอื่น โดยผ่านทางระบบคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการให้บริการในนามของตนเอง หรือในนามหรือเพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น
(๒) ผู้ให้บริการเก็บรักษาข้อมูลคอมพิวเตอร์เพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น
“ผู้ใช้บริการ” หมายความว่า ผู้ใช้บริการของผู้ให้บริการไม่ว่าต้องเสียค่าใช้บริการหรือไม่ก็ตาม
“พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
“รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวง เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
หมวด ๑
ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
มาตรา ๕ ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้น มิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๖ ผู้ใดล่วงรู้มาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ผู้อื่นจัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะถ้านำมาตรการดังกล่าวไปเปิดเผยโดยมิชอบ ในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๗ ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๘ ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อดักรับไว้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นที่อยู่ระหว่างการส่งในระบบคอมพิวเตอร์ และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นมิได้มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะหรือเพื่อให้บุคคลทั่วไปใช้ประโยชน์ได้ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๙ ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๑๐ ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบ เพื่อให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นถูกระงับ ชะลอ ขัดขวาง หรือรบกวนจนไม่สามารถทำงานตามปกติได้ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๑๑ ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่นโดยปกปิดหรือปลอมแปลงแหล่งที่มาของการส่งข้อมูลดังกล่าว อันเป็นการรบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่นโดยปกติสุข ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท
มาตรา ๑๒ ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา ๙ หรือมาตรา ๑๐
(๑) ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน ไม่ว่าความเสียหายนั้นจะเกิดขึ้นในทันทีหรือในภายหลัง และไม่ว่าจะเกิดขึ้นพร้อมกันหรือไม่ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท
(๒) เป็นการกระทำโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือการบริการสาธารณะ หรือเป็นการกระทำต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่หกหมื่นบาทถึงสามแสนบาท
ถ้าการกระทำความผิดตาม (๒) เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบปีถึงยี่สิบปี
มาตรา ๑๓ ผู้ใดจำหน่ายหรือเผยแพร่ชุดคำสั่งที่จัดทำขึ้นโดยเฉพาะเพื่อนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการกระทำความผิดตามมาตรา ๕ มาตรา ๖ มาตรา ๗ มาตรา ๘ มาตรา ๙ มาตรา ๑๐ หรือมาตรา ๑๑ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๑๔ ผู้ใดกระทำความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
(๑) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน
(๒) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน
(๓) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา
(๔) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ ที่มีลักษณะอันลามกและข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้
(๕) เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม (๑)(๒) (๓) หรือ (๔)
มาตรา ๑๕ ผู้ให้บริการผู้ใดจงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มีการกระทำความผิดตามมาตรา ๑๔ ในระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในความควบคุมของตน ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทำความผิดตามมาตรา ๑๔
มาตรา ๑๖ ผู้ใดนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ปรากฏเป็นภาพของผู้อื่น และภาพนั้นเป็นภาพที่เกิดจากการสร้างขึ้น ตัดต่อ เติม หรือดัดแปลงด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือวิธีการอื่นใด ทั้งนี้ โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือ
ปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าการกระทำตามวรรคหนึ่ง เป็นการนำเข้าข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยสุจริต ผู้กระทำไม่มีความผิด ความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ ถ้าผู้เสียหายในความผิดตามวรรคหนึ่งตายเสียก่อนร้องทุกข์ ให้บิดา มารดา คู่สมรส หรือ บุตรของผู้เสียหายร้องทุกข์ได้ และให้ถือว่าเป็นผู้เสียหาย
มาตรา ๑๗ ผู้ใดกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้นอกราชอาณาจักรและ
(๑) ผู้กระทำความผิดนั้นเป็นคนไทย และรัฐบาลแห่งประเทศที่ความผิดได้เกิดขึ้นหรือผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ หรือ
(๒) ผู้กระทำความผิดนั้นเป็นคนต่างด้าว และรัฐบาลไทยหรือคนไทยเป็นผู้เสียหายและผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ
จะต้องรับโทษภายในราชอาณาจักร
หมวด ๒
พนักงานเจ้าหน้าที่

มาตรา ๑๘ ภายใต้บังคับมาตรา ๑๙ เพื่อประโยชน์ในการสืบสวนและสอบสวนในกรณีที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ เฉพาะที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการใช้เป็นหลักฐานเกี่ยวกับการกระทำความผิดและหาตัวผู้กระทำความผิด
(๑) มีหนังสือสอบถามหรือเรียกบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้มาเพื่อให้ถ้อยคำ ส่งคำชี้แจงเป็นหนังสือ หรือส่งเอกสาร ข้อมูล หรือหลักฐานอื่นใดที่อยู่ในรูปแบบที่สามารถเข้าใจได้
(๒) เรียกข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์จากผู้ให้บริการเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารผ่านระบบคอมพิวเตอร์หรือจากบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้อง
(๓) สั่งให้ผู้ให้บริการส่งมอบข้อมูลเกี่ยวกับผู้ใช้บริการที่ต้องเก็บตามมาตรา ๒๖ หรือที่อยู่ในความครอบครองหรือควบคุมของผู้ให้บริการให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่
(๔) ทำสำเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ จากระบบคอมพิวเตอร์ที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ในกรณีที่ระบบคอมพิวเตอร์นั้นยังมิได้อยู่ในความครอบครองของพนักงานเจ้าหน้าที่
(๕) สั่งให้บุคคลซึ่งครอบครองหรือควบคุมข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์ ส่งมอบข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ดังกล่าวให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่
(๖) ตรวจสอบหรือเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์ของบุคคลใด อันเป็นหลักฐานหรืออาจใช้เป็นหลักฐานเกี่ยวกับการกระทำความผิด หรือเพื่อสืบสวนหาตัวผู้กระทำความผิดและสั่งให้บุคคลนั้นส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ ที่เกี่ยวข้องเท่าที่จำเป็นให้ด้วยก็ได้
(๗) ถอดรหัสลับของข้อมูลคอมพิวเตอร์ของบุคคลใด หรือสั่งให้บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการเข้ารหัสลับของข้อมูลคอมพิวเตอร์ ทำการถอดรหัสลับ หรือให้ความร่วมมือกับพนักงานเจ้าหน้าที่ในการถอดรหัสลับดังกล่าว
(๘) ยึดหรืออายัดระบบคอมพิวเตอร์เท่าที่จำเป็นเฉพาะเพื่อประโยชน์ในการทราบรายละเอียดแห่งความผิดและผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๑๙ การใช้อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๑๘ (๔) (๕) (๖) (๗) และ
(๘) ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อมีคำสั่งอนุญาตให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการตามคำร้อง ทั้งนี้ คำร้องต้องระบุเหตุอันควรเชื่อได้ว่าบุคคลใดกระทำหรือกำลังจะกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดอันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ เหตุที่ต้องใช้อำนาจ ลักษณะของการกระทำความผิด รายละเอียดเกี่ยวกับอุปกรณ์ที่ใช้ในการกระทำความผิดและผู้กระทำความผิด เท่าที่สามารถจะระบุได้ ประกอบคำร้องด้วยในการพิจารณาคำร้องให้ศาลพิจารณาคำร้องดังกล่าวโดยเร็วเมื่อศาลมีคำสั่งอนุญาตแล้ว ก่อนดำเนินการตามคำสั่งของศาล ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ส่งสำเนาบันทึกเหตุอันควรเชื่อที่ทำให้ต้องใช้อำนาจตามมาตรา ๑๘ (๔) (๕) (๖) (๗) และ (๘) มอบให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองระบบคอมพิวเตอร์นั้นไว้เป็นหลักฐาน แต่ถ้าไม่มีเจ้าของหรือผู้ครอบครองเครื่องคอมพิวเตอร์อยู่ ณ ที่นั้น ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ส่งมอบสำเนาบันทึกนั้นให้แก่เจ้าของหรือ
ผู้ครอบครองดังกล่าวในทันทีที่กระทำได้ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้เป็นหัวหน้าในการดำเนินการตามมาตรา ๑๘ (๔) (๕) (๖) (๗) และ
(๘) ส่งสำเนาบันทึกรายละเอียดการดำเนินการและเหตุผลแห่งการดำเนินการให้ศาลที่มีเขตอำนาจภายในสี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่เวลาลงมือดำเนินการ เพื่อเป็นหลักฐานการทำสำเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์ตามมาตรา ๑๘ (๔) ให้กระทำได้เฉพาะเมื่อมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ และต้องไม่เป็นอุปสรรคในการดำเนินกิจการของเจ้าของหรือผู้ครอบครองข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นเกินความจำเป็น การยึดหรืออายัดตามมาตรา ๑๘ (๘) นอกจากจะต้องส่งมอบสำเนาหนังสือแสดงการยึดหรืออายัดมอบให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองระบบคอมพิวเตอร์นั้นไว้เป็นหลักฐานแล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่จะสั่งยึดหรืออายัดไว้เกินสามสิบวันมิได้ ในกรณีจำเป็นที่ต้องยึดหรืออายัดไว้นานกว่านั้น ให้ยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อขอขยายเวลายึดหรืออายัดได้ แต่ศาลจะอนุญาตให้ขยายเวลาครั้งเดียวหรือหลายครั้งรวมกันได้อีกไม่เกินหกสิบวัน เมื่อหมดความจำเป็นที่จะยึดหรืออายัดหรือครบกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องส่งคืนระบบคอมพิวเตอร์ที่ยึดหรือถอนการอายัดโดยพลัน หนังสือแสดงการยึดหรืออายัดตามวรรคห้าให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา ๒๐ ในกรณีที่การกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้เป็นการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ ที่อาจกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร ตามที่กำหนดไว้ในภาคสองลักษณะ ๑ หรือลักษณะ ๑/๑ แห่งประมวลกฎหมายอาญา หรือที่มีลักษณะขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน พนักงานเจ้าหน้าที่โดยได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีอาจยื่นคำร้อง พร้อมแสดงพยานหลักฐานต่อศาลที่มีเขตอำนาจขอให้มีคำสั่งระงับการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นได้ ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งให้ระงับการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ตามวรรคหนึ่ง ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทำการระงับการทำให้แพร่หลายนั้นเอง หรือสั่งให้ผู้ให้บริการระงับการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นก็ได้
มาตรา ๒๑ ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่พบว่า ข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดมีชุดคำสั่งไม่พึงประสงค์รวมอยู่ด้วย พนักงานเจ้าหน้าที่อาจยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อขอให้มีคำสั่งห้ามจำหน่ายหรือเผยแพร่ หรือสั่งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นระงับการใช้ ทำลายหรือแก้ไขข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นได้ หรือจะกำหนดเงื่อนไขในการใช้ มีไว้ในครอบครอง หรือเผยแพร่ชุดคำสั่งไม่พึงประสงค์ดังกล่าวก็ได้ชุดคำสั่งไม่พึงประสงค์ตามวรรคหนึ่งหมายถึงชุดคำสั่งที่มีผลทำให้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือระบบคอมพิวเตอร์หรือชุดคำสั่งอื่นเกิดความเสียหาย ถูกทำลาย ถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมขัดข้อง หรือปฏิบัติงานไม่ตรงตามคำสั่งที่กำหนดไว้ หรือโดยประการอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวงทั้งนี้ เว้นแต่เป็นชุดคำสั่งที่มุ่งหมายในการป้องกันหรือแก้ไขชุดคำสั่งดังกล่าวข้างต้น ตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๒๒ ห้ามมิให้พนักงานเจ้าหน้าที่เปิดเผยหรือส่งมอบข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลของผู้ใช้บริการ ที่ได้มาตามมาตรา ๑๘ ให้แก่บุคคลใดความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับการกระทำเพื่อประโยชน์ในการดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ หรือเพื่อประโยชน์ในการดำเนินคดีกับพนักงานเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการใช้อำนาจหน้าที่
โดยมิชอบ หรือเป็นการกระทำตามคำสั่งหรือที่ได้รับอนุญาตจากศาลพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ใดฝ่าฝืนวรรคหนึ่งต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๒๓ พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ใดกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นล่วงรู้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลของผู้ใช้บริการ ที่ได้มาตามมาตรา ๑๘ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๒๔ ผู้ใดล่วงรู้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์หรือข้อมูลของผู้ใช้บริการ ที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้มาตามมาตรา ๑๘ และเปิดเผยข้อมูลนั้นต่อผู้หนึ่งผู้ใด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๒๕ ข้อมูล ข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้มาตามพระราชบัญญัตินี้ ให้อ้างและรับฟังเป็นพยานหลักฐานตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาหรือกฎหมายอื่นอันว่าด้วยการสืบพยานได้ แต่ต้องเป็นชนิดที่มิได้เกิดขึ้นจากการจูงใจมีคำมั่นสัญญา ขู่เข็ญ หลอกลวง หรือโดยมิชอบประการอื่น
มาตรา ๒๖ ผู้ให้บริการต้องเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ไว้ไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันนับแต่วันที่ข้อมูลนั้นเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ แต่ในกรณีจำเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่จะสั่งให้ผู้ให้บริการผู้ใดเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ไว้เกินเก้าสิบวัน แต่ไม่เกินหนึ่งปีเป็นกรณีพิเศษเฉพาะรายและเฉพาะคราวก็ได้ ผู้ให้บริการจะต้องเก็บรักษาข้อมูลของผู้ใช้บริการเท่าที่จำเป็นเพื่อให้สามารถระบุตัวผู้ใช้บริการ นับตั้งแต่เริ่มใช้บริการและต้องเก็บรักษาไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันนับตั้งแต่การใช้บริการสิ้นสุดลง ความในวรรคหนึ่งจะใช้กับผู้ให้บริการประเภทใด อย่างไร และเมื่อใด ให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ผู้ให้บริการผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรานี้ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าแสนบาท
มาตรา ๒๗ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของศาลหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ที่สั่งตามมาตรา ๑๘ หรือมาตรา ๒๐ หรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของศาลตามมาตรา ๒๑ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองแสนบาทและปรับเป็นรายวันอีกไม่เกินวันละห้าพันบาทจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง
มาตรา ๒๘ การแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้รัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้มีความรู้และความชำนาญเกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์ และมีคุณสมบัติตามที่รัฐมนตรีกำหนด
มาตรา ๒๙ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามีอำนาจรับคำร้องทุกข์หรือรับคำกล่าวโทษ และมีอำนาจในการสืบสวนสอบสวนเฉพาะความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ในการจับ ควบคุม ค้น การทำสำนวนสอบสวนและดำเนินคดีผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ บรรดาที่เป็นอำนาจของพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ หรือพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ประสานงานกับพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบเพื่อดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ต่อไป ให้นายกรัฐมนตรีในฐานะผู้กำกับดูแลสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และรัฐมนตรีมีอำนาจ ร่วมกันกำหนดระเบียบเกี่ยวกับแนวทางและวิธีปฏิบัติในการดำเนินการตามวรรคสอง
มาตรา ๓๐ ในการปฏิบัติหน้าที่ พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจำตัวต่อบุคคลซึ่งเกี่ยวข้อง บัตรประจำตัวของพนักงานเจ้าหน้าที่ให้เป็นไปตามแบบที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์
นายกรัฐมนตรี
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากในปัจจุบันระบบคอมพิวเตอร์ได้เป็นส่วนสำคัญ ของการประกอบกิจการ และการดำรงชีวิตของมนุษย์ หากมีผู้กระทำด้วยประการใด ๆ ให้ระบบคอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำงานตามคำสั่งที่กำหนดไว้ หรือทำให้การทำงานผิดพลาดไปจากคำสั่งที่กำหนดไว้ หรือใช้วิธีการใด ๆ เข้าล่วงรู้ข้อมูล แก้ไข หรือทำลายข้อมูลของบุคคลอื่น ในระบบคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ หรือใช้ระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อเผยแพร่ข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ หรือมีลักษณะอันลามกอนาจาร ย่อมก่อให้เกิดความเสียหาย กระทบกระเทือนต่อเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของรัฐ รวมทั้งความสงบสุขและศีลธรรมอันดีของประชาชน สมควรกำหนดมาตรการเพื่อป้องกันและปราบปรามการกระทำดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
พรบ.คอมพิวเตอร์ฉบับชาวบ้าน
ข้อมูลนี้….ได้รับจากการส่งต่ออีเมล์ เห็นว่าเป็นประโยชน์เลยเอามาลงให้ได้รับข้อมูลกันกับคนใช้งานอินเตอร์เน็ต เข้าใจง่ายได้ใจความ
พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐ กำลังจะมีการประกาศใช้ในวันที่ 19 กรกฎาคม 2550 พวกเราเลยต้องมารับรู้กันซะหน่อย ว่าทำอะไรผิดบ้างถึงจะถูกกฎหมายนี้ลงโทษเอาได้ พวกเราจะได้ระวังตัวกัน ไม่เผลอไผลให้อารมณ์พาไปจนทำผิดเน้อะ!!!
จะถอดความโดยสรุปเลยก็แล้วกันนะ ว่าทำอะไรผิดแล้วจะโดนลงโทษบ้าง
1. เจ้าของไม่ให้เข้าระบบคอมพิวเตอร์ของเขา แล้วเราแอบเข้าไป … เจอคุก 6 เดือน
2. แอบไปรู้วิธีการเข้าระบบคอมพิวเตอร์ของชาวบ้าน แล้วเที่ยวไปโพนทะนาให้คนอื่นรู้ … เจอคุกไม่เกินปี
3. ข้อมูลของเขา เขาเก็บไว้ในระบบคอมพิวเตอร์ดี ๆ แล้วแอบไปล้วงของเขา … เจอคุกไม่เกิน 2 ปี
4. เขาส่งข้อมูลหากันผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบส่วนตั๊วส่วนตัว แล้วเราทะลึ่งไปดักจับข้อมูลของเขา … เจอคุกไม่เกิน 3 ปี
5. ข้อมูลของเขาอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ของเขาดี ๆ เราดันมือบอนไปโมมันซะงั้น … เจอคุกไม่เกิน 5 ปี
6. ระบบคอมพิวเตอร์ของชาวบ้านทำงานอยู่ดี ๆ เราดันยิง packet หรือ message หรือ virus หรือ trojan หรือ worm หรือ (โอ๊ยเยอะ) เข้าไปก่อกวนจนระบบเขาเดี้ยง … เจอคุกไม่เกิน 5 ปี
7. เขาไม่ได้อยากได้ข้อมูลหรืออีเมลล์จากเราเล้ย เราก็ทำตัวเป็นอีแอบเซ้าซี้ส่งให้เขาซ้ำ ๆ อยู่นั่นแหล่ะ จนทำให้เขาเบื่อหน่ายรำคาญ … เจอปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท
8. ถ้าเราทำผิดข้อ 5. กับ ข้อ 6. แล้วมันสร้างความพินาศใหญ่โตในระดับรากหญ้า งานนี้มีซวยแน่ เจอคุกสิบปีขึ้น
9. ถ้าเราสร้างซอฟต์แวร์เพื่อช่วยให้ใคร ๆ ทำเรื่องแย่ ๆ ในข้อข้างบน ๆ ได้ … เจอคุกไม่เกินปีนึงเหมือนกัน
10. โป๊ก็โดน, โกหกก็โดน, เบนโลก็โดน, ท้าทายอำนาจรัฐก็โดน … เจอคุกไม่เกิน 5 ปี
11. ใครเป็นเจ้าของเว็บ แล้วยอมให้เกิดข้อ 10. โดนเหมือนกัน … เจอคุกไม่เกิน 5 ปี
12. ถ้าเราเรียกให้ชาวบ้านเข้ามาดูงานของศิลปินข้างถนน ซึ่งชอบเอารูปชาวบ้านมาตัดต่อ เตรียมใจไว้เลยมีโดน … เจอคุกไม่เกิน 3 ปี
13. เราทำผิดที่เว็บไซต์ซึ่งอยู่เมืองนอก แต่ถ้าเราเป็นคนไทย หึ ๆ อย่าคิดว่ารอด โดนแหง ๆ
14. ฝรั่งทำผิดกับเรา แล้วมันอยู่เมืองนอกอีกต่างหาก เราเป็นคนไทย ก็เรียกร้องเอาผิดได้เหมือนกัน (จริงดิ?)
กฎหมายออกมาแล้ว ก็คงต้องระวังตัวกันให้มากขึ้นนะพวกเรา … จงถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาท

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น